วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 8

บทที่ 8การบริหารและการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย 1.วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง จงสรุปตอบ- การทำให้ผู้ใช้มีความ พึงพอใจในการใช้บริการขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเครือข่ายที่ใช้และชนิดของผู้ใช้ระบบนั้นซึ่งจะมีผลต่างกัน เช่น ลูกค้าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ผู้ออกแบบกราฟิกต้องการความรวดเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลในปริมาณสูงมาก ลูกค้าทั้งสองกลุ่มนี้มีความต้องการที่แตกต่างกันซึ่งผู้บริหารระบบเครือข่ายจำเป็นจะต้องปรับแต่งระบบเครือข่ายใหม่ให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละแบบ ความต้องการของผู้ใช้มักจะขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารระบบเครือข่ายจะต้องสามารถแยกแยะและตอบสนองให้ได้อย่างเหมาะสม- การนำเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิผล ผู้บริหารสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้ภายในขอบเขตที่จำกัดด้วยวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เช่น ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายสื่อสารหนึ่งล้านบาท และสมมุติว่าเงินงบประมาณได้มาเพียงสองล้านบาทต่อการใช้งานหนึ่งปี การใช้งบประมาณหนึ่งล้านบาทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพียงคนเดียวจะต้องคุ้มค่าอย่างชนิดไม่มีข้อสงสัย มิฉะนั้นผู้บริหารระบบเครือข่าย ก็จะต้องปฏิเสธคำขอของผู้ใช้รายนี้2.การบริหารระบบเครือข่ายไร้สายและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง จงสรุป ตอบ ผู้บริหารระบบจะต้องติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมหรือได้เปรียบองค์กรคู่แข่ง เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เช่น- ดีเอสเอสเอส (Direct Sequence Spread Spectrum; DSSS) ซึ่งใช้วิธีการส่งสัญญาณผ่านหลายคลื่นความถี่พร้อมกันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง- เอฟเอชเอสเอส (Frequency Hopping Spread Spectrum; FHSS) ใช้การส่งข้อมูลหลายความถี่แต่ไม่ได้ใช้ความถี่ทั้งหมดพร้อมกัน- เทคโนโลยีการส่งสัญญาณด้วยแสงอินฟราเรดปริมาณข้อมูลในระบบเครือข่ายเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายกับระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายทั่วไป- การแบ่งประเภทเครื่องมือตรวจสอบระบบเครือข่าย- ซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์ 3.เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายทั่วไป มีอะไรบ้าง จงสรุป ตอบ ซอฟต์แวร์จากหลายบริษัท เช่น Keynote Systems, Inc., หรือ NetMechanic สามารถ นำมาใช้วัดระยะเวลาการตอบสนองผู้ใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบตลอดเส้นทาง (End-to-End Response Time) คือระยะเวลาตั้งแต่ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลในเว็บเพจจากเว็บไซต์หนึ่งจนกระทั่งข้อมูลใน เว็บเพจนั้นเริ่มปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้ การตรวจสอบประเภทนี้เรียกว่า การตรวจสอบรายการทำงาน (Transaction Monitoring) ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะสร้างรายการทำงานสมมุติ (Dummy Transaction) ขึ้นมาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ขององค์กรเพื่อวัดระยะเวลาการตอบสนองรายการทำงานสมมุติคือการจำลองรายการทำงานให้มีลักษณะเหมือนจริงเพียงแต่ไม่มีการร้องขอให้ทำงานใด ๆ เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าสมมุติจะมีรูปแบบเหมือนกับรายการสั่งซื้อสินค้าจริง แต่จะไม่มีการสั่งซื้อสินค้าเกิดขึ้น รายการทำงานสมมุติที่ถูกส่งมาจึงได้รับการตอบสนองกลับไปยังผู้ใช้ในทันทีที่มาถึงเว็บไซต์ขององค์กร ดังนั้นระยะเวลาการตอบสนองที่เกิดขึ้นจึงเป็นระยะเวลาที่ข้อมูลใช้ในการเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้น องค์กรจะต้องมีการตรวจวัดระยะเวลาการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบคือจะต้องมีการวัดในช่วงเวลาต่าง ๆ กันทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้มาก ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้น้อย และวันหยุด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีข้อมูลสำหรับการอ้างอิงในกรณีที่ระยะเวลาตอบสนองนานมากกว่าปกติ4.ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง จงสรุปตอบ ไฟร์วอลล์เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ปกป้องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายจากการบุกรุกโดยแฮกเกอร์และผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ผู้ใช้ตามบ้านสามารถติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้เพื่อป้องกันการ บุกรุกผ่านโมเด็มหรือบริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ได้ ระบบเครือข่ายองค์กรใช้ ไฟร์วอลล์ระดับแพ็กเกตในการตรวจสอบข้อมูลแต่ละแพ็กเกตที่ถูกส่งเข้ามาภายในระบบ หรือใช้ ไฟร์วอลล์ระดับโปรแกรมประยุกต์เพื่อบังคับให้ผู้ใช้จากภายนอกจะต้องลงทะเบียนชื่อผู้ใช้และใส่รหัสผ่านที่ถูกต้องสำหรับการใช้โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรม การดัดแปลงไฟร์วอลล์ไปเป็นพร็อกซี่ก็เพื่อสร้างหมายเลขที่อยู่บนระบบเครือข่ายปลอมให้กับทุกแพ็กเกต เมื่อได้รับตอบกลับมาแล้วพร็อกซี่ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลในทุกแพ็กเกตและส่งต่อไปให้ผู้ใช้เฉพาะส่วนที่อนุญาตเท่านั้น

คำถามท้ายบทที่ 7

บทที่ 7
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1. คำสั่งของระบบอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง จงอธิบายตอบ ในช่วงก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Internet Web Browser) ขึ้นมาใช้งานนั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้องสั่งงานผ่านคำสั่งต่าง ๆ โดยตรงซึ่งเรียกว่าเป็นการสั่งงานผ่าน Command Line คำสั่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดสองคำสั่งคือ เทลเน็ต และ เอฟทีพี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้เทลเน็ต (Telnet) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีคำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นผ่านระบบเครือข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่โฮสต์เครื่องนั้นได้เหมือนกับว่าผู้ใช้กำลังนั่งทำงานอยู่กับโฮสต์เครื่องนั้นรูปแบบการใช้เทลเน็ต คือ “telnet ”โดยที่ หมายถึง ชื่อของเครื่องโฮสต์ที่ผู้ใช้ต้องการติดต่อด้วย ซึ่ง ผู้ใช้ จะต้องป้อนชื่อผู้ใช้ (User Name) พร้อมทั้งรหัสผ่าน (Password)เอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย เดิมคำสั่งนี้เป็นการทำงานแบบ Command Line เช่นเดียวกับคำสั่งเทลเน็ต ปัจจุบันโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้ซ่อนคำสั่งนี้ไว้ภายในตัวเอง เวลาที่ผู้ใช้ทำการรับหรือส่งแฟ้มข้อมูลโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็จะเรียกใช้คำสั่งเอฟทีพีให้โดยอัตโนมัติการใช้คำสั่งเอฟทีพีคล้ายกับคำสั่งเทลเน็ต คือ FTP ผู้ใช้เพียงแต่ใช้เม้าส์ (Mouse) คลิกไปที่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ ตัวโปรแกรมก็จะจัดการเรียกใช้คำสั่ง เอฟทีพี เพื่อดึงแฟ้มข้อมูลนั้นมาให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ 2. วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบายตอบ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดอย่างหนึ่งบนระบบอินเทอร์เน็ต ในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งจำเป็นต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับเหมือนการส่งจดหมายตามปกติ องค์กรหนึ่งมักมีการจัดตั้งเครื่องแม่ข่ายสำหรับการจัดบริหารจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คล้ายกับการบริการไปรษณีย์นั้นเองชื่อและที่อยู่ของบุคคลหนึ่งประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนชื่อผู้รับซึ่งจะวางไว้หน้าเครื่องหมาย “@” และส่วนที่สองจะเป็นชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายขององค์กรนั้นระบบเครือข่ายเว็บ (WWW) คือการพัฒนาการล่าสุดในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต HTML, Java, eHTML และอื่น ๆ คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจเพื่อใช้สื่อสารข้อความ รูปภาพ เสียง และอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายเว็บ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถ เข้ามาใช้ประโยชน์จากเว็บได้อย่างมากมายผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เข้าใจและใช้งานได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีอย่าง Steaming Audio และ Streaming Video ช่วยเพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ใช้ อย่างน่าอัศจรรย์ผ่านบราวเซอร์อย่างโปรแกรมเน็ตสเคปหรืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์3. บริการอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย ตอบ นอกเหนือจากเครือข่ายเว็บบนระบบอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีบริการอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อยู่อีกกลุ่มหนึ่งคือ โกเฟอร์ โปรแกรมสำหรับการค้นหาข้อมูล และระบบข่าวสารเฉพาะกลุ่มโปรแกรม เหล่านี้มีวิธีการใช้งานและการเรียกใช้แตกต่างไปจากบราวเซอร์ดังรายละเอียดต่อไปนี้ - โกเฟอร์โดยปกติผู้ใช้ที่เรียกใช้โปรแกรมเทลเน็ต (Telnet) เพื่อติดต่อเข้าไปยังโฮสต์เครื่องหนึ่งมักจะประสบปัญหากับความไม่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ในโฮสต์นั้น ๆ ทำให้การค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิเนโซต้า (University of Minnesota) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาโปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) ขึ้นมาใช้งานใน พ.ศ. 2534 โปรแกรมนี้จะช่วยสร้างเมนูหรือข้อเลือกสำหรับการทำงานที่ต้องการที่สามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 9x, Windows NT, Mac-OS, Unix และอื่น ๆ ช่วยให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย-โปรแกรมค้นหาข้อมูลการค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่มีความคุ้นเคยหรือขาดประสบการณ์เนื่องจากปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ อีกทั้งไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดูแลจึงมีสภาพคล้ายกับห้องสมุดขนาดใหญ่ แต่ไม่มีบรรณารักษ์และหนังสือก็ไม่มีการจัดเรียงตามหมวดหมู่เลย อย่างไรก็ตามได้มีบริษัทหลายแห่งเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ทั่วไปโดยการนำ ข้อมูลจำนวนมากบนระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาจัดเรียงตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ทำหน้าที่คล้ายกับห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้บรรจุข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้ทั้งหมดแต่ก็บรรจุข้อมูลไว้มากพอที่จะให้ผู้ใช้ ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดโดยตรงจากเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัทที่ให้บริการประเภทนี้เรียกโปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตว่า เซิร์ชเอ็นจิน(Search Engine) หรือเซิร์ชทูล (Search Tool)

คำถามท้ายบทที่ 6

บทที่ 6 ระบบเครือข่ายวงกว้าง และระบบเครือข่ายเขตเมือง
1. รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท
ตอบ ระบบเครือข่ายวงกว้างหรือเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Networks; WAN) มักใช้เชื่อมโยงเครือข่าย 2 เครื่อข่ายที่อยู่ไกลกันมาก แต่ในปัจจุบันมีการนำระบบเครือข่ายวงกว้างมาประยุกต์ใช้ในระบบเครือข่ายเขตเมือง (Metropolitan Area Networks; MAN) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของผู้ใช้งานที่อยู่ในเขตตัวเมืองเดียวกัน ที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เชื่อมโยงสื่อสารกันกับในเขตเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจการเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่าง ๆ การเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสงและเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันทีการเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด
1.การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด(Point-to-Point Connection) เป็นเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ
-การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป
- การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก
- การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal)
1.สามารถส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก รวดเร็ว
2.สายสื่อสารแต่ละเส้นมีเทอร์มินอลเพียงเครื่องเดียว โฮสต์จึงทราบตลอดเวลาว่าเทอร์มินอลใดติดต่อเข้ามา และสามารถส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เสมอ3.ค่าใช้จ่ายสูงการเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections)ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุด
2. รูปแบบโครงสร้าง (Topology) ระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท
รูปแบบโครงสร้าง (Topology) หมายถึง รูปแบบการวางตำแหน่ง (Physical Configuration or Layout) ของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญความแตกต่างระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้ มี 2 ประเภท คือ รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น แบบดาว และแบบวงแหวน
1.รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องเมนเฟรมเป็นองค์ประกอบหลักมักจะมีการจัด โครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical Topology) ซึ่งมีเครื่องโฮสต์อยู่ที่ตำแหน่งบนสุด เรียกว่า ราก (Root) ของโครงสร้างนี้ เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front End-processors) ถูกวางอยู่ใน ระดับรองลงมา คอนโทรลเลอร์ (Controller) และมัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) อยู่ในระดับต่อลงมา โดยมีเทอร์มินอลทั้งหมดอยู่ที่ระดับล่างสุดของโครงสร้างข้อดีของการจัดโครงสร้างเป็นแบบหลายระดับชั้น
- สามารถตอบสนองการทำงานกับเครื่องเมนเฟรมได้เป็นอย่างดีเนื่องจากอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับกลางจะรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งมายังโฮสต์ซึ่งโฮสต์สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ไปทำงานอื่นได้
- สามารถแบ่งแยกการทำงานของอุปกรณ์ในระบบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เช่น เมื่อเครื่องคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบไปยังการทำงานของอุปกรณ์ตัวอื่น นอกจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น
2.รูปแบบโครงสร้างแบบดาวรูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบอุปกรณ์ทั้งหมดจะเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง ในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอข้อเสีย
- การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้น
- หากคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบจะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ซึ่งอาจจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือ มีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที
3.รูปแบบโครงสร้างแบบวงแหวนโครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่ก็สามารถใช้กับระบบเครือข่ายใหญ่ได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กันจะถูกเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด ไปยังเซิร์ฟเวอร์ข้างเคียง และเชื่อมต่อกันไปตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระดับสุดท้ายจะเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ลำดับแรก ทำให้เชื่อมต่อครบเป็นวงจรรูปแบบวงแหวน

คำถามท้ายบทที่ 5

บทที่ 5 ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณจงอธิบายองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ในเรื่อง ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ว่ามีอะไรบ้างและมีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร– ฮาร์ดแวร์ฮาร์ดแวร์สำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณมีส่วนประกอบหลักสามส่วนคือ เครื่องพีซี (Personal Computer) อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) และสื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) เครื่องพีซีบางส่วนอาจทำหน้าที่พิเศษในขณะที่ส่วนที่เหลือทำหน้าที่สำหรับการใช้งานทั่วไป– รูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์1. ระบบเครือข่ายแบบวงแหวนระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology) ถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกับเครื่องผู้ใช้ที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งเมื่อต่อถึงกันหมดแล้วจะกลายเป็นวงจรปิดรูปวงแหวน ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในระบบเครือข่ายเรียกว่า Message จะถูกส่งไปในทิศทางเดียวกันเสมอเครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องที่รับข้อมูลเข้ามาจะเก็บข้อมูลนั้นไว้ในกรณีที่เป็นข้อมูลของตนเองเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะต้องส่ง ข้อมูลเดิมไปยังเครื่องในลำดับต่อไป ส่วนเครื่องที่เป็นผู้รับข้อมูล (Receiver) จะส่งข้อมูลตอบรับ (Acknowledgement) ออกมาแทนที่ข้อมูลเดิม โดยผู้ที่ส่งข้อมูลออกมา (Sender) นั้นจะกลายเป็นผู้รับ ข้อมูลตอบรับ หลังจากนั้นผู้อื่นจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้2. ระบบเครือข่ายแบบบัสระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology) ใช้สายสื่อสารเส้นหนึ่งเป็นแกนหรือสายสื่อสารหลักหรือบัส เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชนิดเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ที่ปลายสายทั้งสองข้างจะมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้เรียกว่า หมวกหรือหัวปิดสาย (Terminator) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) ซึ่งจะย้อนกลับไปทำให้สัญญาณข้อมูลจริงเสียหาย ข้อแตกต่างที่สำคัญจากระบบเครือข่ายวงแหวนคือ ที่ปลายสายของระบบบัสไม่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะถูกส่งออกไปตลอดทั่วสายทั้งเส้น3. ระบบเครือข่ายแบบดาวระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology) ประกอบด้วยอุปกรณ์สื่อสารศูนย์กลางตัวหนึ่งเรียกว่า ฮับ (Hub) อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมดจะเชื่อมต่อเข้ามาที่นี่โดยตรง ข้อมูลจากเครื่องผู้ส่งจะต้องส่งมาที่ฮับเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องผู้รับโดยไม่ต้องส่งผ่านเครื่องอื่น ฮับจะทำงานเหมือนกับอุปกรณ์เชื่อมต่อโทรศัพท์ภายในที่เรียกว่า ตู้พีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange)– โพรโทคอลโพรโทคอลที่ใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีความแตกต่างจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง เช่น เอสเอ็นเอของบริษัทไอบีเอ็ม หรือ ทีซีพีไอพีที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต มาตรฐานอีเทอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตามด้วยมาตรฐานโทเก้นพาสซิ่ง อาร์คเน็ต และแอปเปิลทอล์ค โพรโทคอลที่พัฒนาขึ้นมาเหล่านี้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ระบบเครือข่ายต่าง ๆ สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ด้วย– ชนิดของระบบเครือข่าย1. ระบบเครือข่ายแบบพีบีเอ็กซ์อุปกรณ์พีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange) เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมานานมากแล้ว เพื่อใช้สำหรับการสลับสายสัญญาณอัตโนมัติระบบเครือข่ายโทรศัพท์ย่อยภายในองค์กร ซึ่งอาจใช้หมายเลขโทรศัพท์เพียงสามหรือสี่ตัวต่อหนึ่งหมายเลข แทนที่จะเป็นเลขเก้าตัวตามปกติ และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสายโทรศัพท์จากภายนอกองค์กรให้สามารถติดต่อกันได้2. ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ (Peer or Peer-to-Peer LAN) เป็นระบบเครือข่ายที่สามารถ ติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่าย จึงได้รับความนิยมนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กในองค์กรทั่วไป ในระบบนี้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกชนิดมีความเท่าเทียมกันคือไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระบบเครือข่าย เครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องมีสิทธิในการเลือกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มีสิทธิเต็มที่ในการที่จะกำหนดสิทธิผู้ใช้ (อนุญาต หรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตเป็นบางส่วน) ให้แก่เครื่องอื่นที่ต้องการเข้ามาติดต่อด้วย วัตถุประสงค์หลักของระบบเครือข่ายเพียร์คือการอนุญาตให้เครื่องผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ จะเห็นได้ว่าเครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องในที่นี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง3. ระบบเครือข่ายแบบเซิร์ฟเวอร์เบสระบบเครือข่ายขนาดใหญ่นิยมใช้แบบเซิร์ฟเวอร์เบส (Server-Based LAN) ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเครื่องหนึ่ง หรือหลายเครื่องทำหน้าที่เก็บซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ไว้เป็นส่วนกลาง และอนุญาตให้เครื่องผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของบริการที่มีให้ เช่น เครื่องเซร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเป็นหลักก็จะเรียกว่าไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ตัวอย่างระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องพร้อมกับเครื่องผู้ใช้อีกจำนวนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นระบบเครือข่ายแบบเซิร์ฟเวอร์เบส– ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณความเร็วสูงระบบเครือข่ายอีเทอร์เน็ตในอดีตถูกมองว่าเป็นระบบเครือข่ายความเร็วต่ำสำหรับผู้ใช้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากมีความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลเพียง 10 Mbps ในขณะที่ระบบเครือข่ายโทเก้นริงมีความเร็วถึง 16 Mbps แต่ในปัจจุบันระบบอีเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเครือข่าย เฉพาะบริเวณความเร็วสูง (High-Speed LAN) ขึ้นมาใหม่สองแบบคือ ระบบฟาสต์อีเทอร์เน็ต และ กิกะบิตอีเทอร์เน็ต– การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้รับการออกแบบมาสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จำนวนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จำกัดแห่งหนึ่งเข้าด้วยกัน เมื่อความนิยมเพิ่มขึ้น จำนวนระบบเครือข่ายจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน ใน ขั้นแรกทำการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณภายในองค์กรเดียวกันเข้าด้วยกันกลายเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ต่อมาจึงทำการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณเข้ากับระบบเครือข่ายวงกว้าง เพื่อให้สามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ทวนสัญญาณ บริดจ์ เราเตอร์ และเกตเวย์

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553