วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 6

บทที่ 6 ระบบเครือข่ายวงกว้าง และระบบเครือข่ายเขตเมือง
1. รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท
ตอบ ระบบเครือข่ายวงกว้างหรือเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Networks; WAN) มักใช้เชื่อมโยงเครือข่าย 2 เครื่อข่ายที่อยู่ไกลกันมาก แต่ในปัจจุบันมีการนำระบบเครือข่ายวงกว้างมาประยุกต์ใช้ในระบบเครือข่ายเขตเมือง (Metropolitan Area Networks; MAN) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของผู้ใช้งานที่อยู่ในเขตตัวเมืองเดียวกัน ที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เชื่อมโยงสื่อสารกันกับในเขตเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจการเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่าง ๆ การเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสงและเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันทีการเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด
1.การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด(Point-to-Point Connection) เป็นเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ
-การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป
- การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก
- การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal)
1.สามารถส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก รวดเร็ว
2.สายสื่อสารแต่ละเส้นมีเทอร์มินอลเพียงเครื่องเดียว โฮสต์จึงทราบตลอดเวลาว่าเทอร์มินอลใดติดต่อเข้ามา และสามารถส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เสมอ3.ค่าใช้จ่ายสูงการเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections)ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุด
2. รูปแบบโครงสร้าง (Topology) ระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท
รูปแบบโครงสร้าง (Topology) หมายถึง รูปแบบการวางตำแหน่ง (Physical Configuration or Layout) ของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญความแตกต่างระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้ มี 2 ประเภท คือ รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น แบบดาว และแบบวงแหวน
1.รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องเมนเฟรมเป็นองค์ประกอบหลักมักจะมีการจัด โครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical Topology) ซึ่งมีเครื่องโฮสต์อยู่ที่ตำแหน่งบนสุด เรียกว่า ราก (Root) ของโครงสร้างนี้ เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front End-processors) ถูกวางอยู่ใน ระดับรองลงมา คอนโทรลเลอร์ (Controller) และมัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) อยู่ในระดับต่อลงมา โดยมีเทอร์มินอลทั้งหมดอยู่ที่ระดับล่างสุดของโครงสร้างข้อดีของการจัดโครงสร้างเป็นแบบหลายระดับชั้น
- สามารถตอบสนองการทำงานกับเครื่องเมนเฟรมได้เป็นอย่างดีเนื่องจากอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับกลางจะรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งมายังโฮสต์ซึ่งโฮสต์สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ไปทำงานอื่นได้
- สามารถแบ่งแยกการทำงานของอุปกรณ์ในระบบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เช่น เมื่อเครื่องคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบไปยังการทำงานของอุปกรณ์ตัวอื่น นอกจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น
2.รูปแบบโครงสร้างแบบดาวรูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบอุปกรณ์ทั้งหมดจะเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง ในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอข้อเสีย
- การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้น
- หากคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบจะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ซึ่งอาจจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือ มีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที
3.รูปแบบโครงสร้างแบบวงแหวนโครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่ก็สามารถใช้กับระบบเครือข่ายใหญ่ได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กันจะถูกเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด ไปยังเซิร์ฟเวอร์ข้างเคียง และเชื่อมต่อกันไปตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระดับสุดท้ายจะเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ลำดับแรก ทำให้เชื่อมต่อครบเป็นวงจรรูปแบบวงแหวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น